วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

บทสรุป


บทสรุป



จากอัตราการเพิ่มต่อปีที่สูงมาก กล่าวคือ 1 เมกะวัตต์ในปี ค.ศ.1970 เป็น 45 เมกะวัตต์ ในปี ค.ศ.1990 และ 152 เมกะวัตต์ในปี ค.ศ.1998 และในปัจจุบันมีผลผลิตสะสมประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ ประกอบกับอัตราความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในภาคอุตสาหกรรม บวกกับนโยบายการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมของภาครัฐในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศญี่ปุ่น จึงมีการคาดคะเนว่าจะสามารถลดราคาของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ลงให้เหลือเท่าๆ กับหรือถูกกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ราคาลงทุนประมาณ 3,000 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ ในช่วงปี ค.ศ.2005-2010 ได้
และจากมุมมองของปัญหาการใช้พลังงานของโลกในอนาคต ที่คาดว่าแนวโน้มราคาเชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์จะสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสำรองเชื้อเพลิงกำลังจะหมดลงไป และสภาพแวดล้อมได้รับผลกระทบ ที่นับวันจะทวีปริมาณ ที่มากขึ้นจากคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า
จึงมีเหตุผลดีพอที่จะสรุปได้ว่าระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ซึ่งสะอาดมีปริมาณมากและได้เปล่า และกรรมวิธีในการเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าไม่ก่อมลภาวะฯ น่าจะเป็นทางเลือกที่สมเหตุผล อีกทางหนึ่งสำหรับอนาคตของมนุษย์ชาติได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น