วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานภาพระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย


สถานภาพระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ข้อมูลของการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อใช้งานในประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2543 มีหน่วยงานต่างๆ ได้ติดตั้งเซลล์ขึ้นสาธิตใช้งานในลักษณะต่างๆ รวมกันแล้วประมาณ 5,217 kWp ลักษณะการใช้งาน จะเป็นการติดตั้งใช้งานในพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น สถานีเติมประจุแบตเตอรี ระบบสื่อสารหรือสถานีทวนสัญญาณ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบไฟฟ้าหมู่บ้านที่ห่างไกล และสัดส่วนที่เหลือจะติดตั้งในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณสุข และไฟสัญญาณไฟกระพริบ นอกจากนั้น ยังมีงานสาธิตการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผสมผสานร่วมกับพลังงานรูปแบบอื่น เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม และใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซล ด้วย
ประเภทและสัดส่วนของการใช้งาน แบ่งออกตามลักษณะโดยย่อ ดังนี้
ระบบโทรคมนาคม1,900 kWp36.5 %
ระบบประจุแบตเตอรี่ให้หมู่บ้านห่างไกล 1,693 kWp 32.5 %
ระบบสูบน้ำในหมู่บ้านห่างไกล994 kWp19.0 %
ระบบสอนหนังสือทางไกล124 kWp 2.4 %
ระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานในพื้นที่ห่างไกล25 kWp0.5 %
ระบบผลิต/จำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่สายส่ง25 kWp5.3 %
เบ็ดเตล็ด เช่น ไฟสัญญาน สถานีอนามัยฯ  200 kWp3.8 %

โดยส่วนหนึ่งของโครงการเหล่านี้ ได้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการสนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่จะให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการนำพลังงานหมุนเวียน ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย มาใช้อย่างแพร่หลาย
สพช. ได้มีการจัดประชุมสัมมนา เพื่อกำหนดแนวทางหลักเกณฑ์ และนโยบายเพื่อสนับสนุน การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ระหว่างปี 2540-2542 ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 ซึ่งมีนักวิชาการจากหลายสถาบัน ได้มาประชุมร่วมกัน และได้เสนอให้มีการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงาน โดย สพช. ได้รวบรวมความต้องการของหน่วยงานต่างๆ และจัดทำเป็นนโยบายในการสนับสนุนด้านการเงิน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
จากวันนั้น หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินโครงการที่ตนได้เสนอไว้อย่างต่อเนื่อง และสำเร็จลงอย่างครบถ้วน จนถึงปัจจุบันนี้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 20 โครงการ ในวงเงินกว่า 1,000 ล้านบาท อาทิเช่น
  • ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
  • ระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาบ้าน และบนหลังคาอาคารส่วนราชการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านในชนบทขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สวนพลังงานแสงอาทิตย์ จ.พิษณุโลก โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • การสาธิตการใช้พลังงานทดแทนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ กรมทรัพยากรธรณี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานสะอาดสำหรับอุทยานแห่งชาติ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • การขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้เกาะต่างๆ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • โครงการประเมินผลระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบเดิมที่ติดตั้งไปแล้ว และวางแผนขยายโครงการต่อไป เพื่อให้การใช้งานมีความมั่นคงยั่งยืน
  • โครงการฟื้นฟูระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ที่ชำรุดแล้วให้สามารถใช้งานได้แบบยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อศึกษาความเหมาะสมเพื่อทำการฟื้นฟู ซ่อมแซม ปรับปรุงหรือดัดแปลงแก้ไขใหม่ ให้ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ระบบชำรุดเสียหาย ให้สามารถใช้งานได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมต่อสภาพการใช้งาน
  • โครงการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • โครงการจัดทำร่างมาตรฐานระบบเซลล์แสงอาทิตย์ของประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • โครงการวิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะกับภูมิอากาศร้อนชื้น โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งโครงการนี้เพิ่งจะได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการกองทุนฯ ที่จะให้การสนับสนุน เงินกว่า 750 ล้านบาท ให้ กฟผ. จัดทำโครงการสาธิตระบบผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เพียงพอต่อความต้องการ ที่เพิ่มขึ้น โดยให้ กฟผ. เริ่มโครงการฯ ที่ขนาด 500 kW ก่อน เพื่อดูผลการทำงานจริงในสภาพจริงของระบบ แล้วจึงจะขออนุมัติดำเนินโครงการฯ เต็มทั้งระบบขนาด 4 MW
ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ (บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
ประเภทโรงไฟฟ้าต้นทุนฯ
(บาท/kw-hr)
หมายเหตุ
1. พลังน้ำ ขนาดเล็ก (<1MW)13.60ผาบ่อง จ.แม่ฮ่องสอน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
2. พลังน้ำ ขนาดกลาง-ใหญ่ (5-180 MW)1.16กฟผ.
3. พลังความร้อน (25-600MW)1.52กฟผ.
4. พลังความร้อนร่วม (60-250 MW)1.54กฟผ.
5. กังหันก๊าซ (14-122 MW)2.82กฟผ.
6. ดีเซล (1 MW)13.51กฟผ. แม่ฮ่องสอน
7.พลังงานทดแทน (8-300 KW)2.07กฟผ. ความร้อนใต้พิภพ; ลม แสงอาทิตย์
(รวม @ 750 KW)
8. ซื้อ1.78จาก ลาว มาเลเซีย, IPP SPP
9. เฉลี่ยทุกประเภทของ กฟผ.1.58ที่มา “กฟผ. ข้อมูลสำคัญ 40-42”
10. PV ROOF top ของ SMUD
คศ. 1993 (พ.ศ.2536)
6.0อัตราแลกเปลี่ยน US $ 1 = 26 บาท
ต้นทุนติดตั้ง US $ 8.78 (230 บาท/W)
คศ. 2000 (พ.ศ.2543)4.8อัตราแลกเปลี่ยน US $ 1 = 40 บาท
ต้นทุนติดตั้ง US $ 3.90 (156 บาท/W)
ที่มา SMUD : SACRAMENTO MUNICIPAL UTILITY DISTRICT สหรัฐอเมริกา
11. โครงการบ้าน 10 หลัง (โครงการนำร่อง)4.5ต้นทุน 5.2 แสนบาท/ หลัง (216 บาท/ W) สพช. อุดหนุน 45%
มีผู้สนใจรอเข้าร่วมโครงการ > 100 ราย
12. มาตรการการจัดการ ด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM)0.5โดยสำนักงาน DSM ของ กฟผ.
หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซล : พ.ศ. 2541 = 8.45บาท/ลิตร, ปัจจุบัน (ก.ค.43) = 15 บาท/ลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น